วันจันทร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

                            บันทึกการเรียนครั้งที่ 11

                ประจำวันศุกร์ที่ 28 เมษายน 2560 (เรียนชดเชย)


* Copy จากนางสาวกมลรัตน์ มาลัย เนื่องด้วยวันศุกร์ไม่ได้มาเรียน


Knowledge :


  • สาธิตการสอน กิจกรรมเสริมประสบการณ์

หน่วย ยานพาหนะ (วันพฤหัสบดี)   เรื่อง ประโยชน์ของยานพาหนะ




ข้อแนะนำ :  นิทานที่นำมาควรให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่จะเรียนเพื่อเป็นการเชื่อมโยงเข้าสู่เนื้อหาที่จะเรียนเกี่ยวกับประโยชน์


(วันศุกร์)  เรื่อง ข้อควรระวังในการใช้ยานพาหนะ



  

ข้อแนะนำ: ควรมีการให้ความรู้เพิ่มเติมเนื้อหาที่จะสอนนอกเหนือจากที่เด็กตอบหรือจากประสบการณ์เดิมของเด็กมากยิ่งขึ้น



หน่วย อาหารหลัก 5 หมู่ (วันพฤหัสบดี) เรื่อง ประโยชน์

  • สงบเด็ก  ด้วยเพลง

ปลาหมึกหนวดยาว  หนวดยาวตัวขาวน่ารัก

เวลาหยุดพักชอบยักไหล่เล่น

ยักเช้า ยักเย็น ยักเล่นๆ

แล้วก็ยัก ยัก ยัก  ปลาหมึกผูกโบว์






หน่วย สัตว์น่ารัก (วันพุธ)




หน่วย ผักสดสะอาด (วันพุุธ)   สาธิตการปลูกผัก






(วันพฤหัสบดี)  เรื่อง ประโยชน์ของผัก





(วันศุกร์)  cooking  ผักชุบแป้งทอด






หน่วย กลางวันกลางคืน  (วันพฤหัสบดี) เรื่อง ข้าวของเครื่องใช้ในเวลากลางวันกลางคืน








หน่วย ข้าว (วันพฤหัสบดี)  เรื่อง ประโญชน์ของข้าว




Apply:


  • เป็นแนวทางในด้านการสอน รวมถึงเทคนิควิธีการต่างๆ ยังสามารถนำเอา ข้อแนะนำ เทคนิคในการสอนที่อาจารย์แนะนำไปปรับใช้ในการสอนให้มีประสิทธิภาพและดียิ่งขึ้น



Teaching  Techniques:
  • การใช้คำถาม
  • การอธิบาย
Evaluation:
  • Teacher   เข้าสอนตรงเวลา ให้เทคนิคในการสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ได้ละเอียดชัดเจน
  • Friends  มีบางคนเข้าเรียนสาย คุยกันบ้างบางเวลาที่อาจารย์สอน
  • Self  เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบนร้อย มีการจดบันทึกในการเรียน
                                บันทึกการเรียนครั้งที่ 10
                              ประจำวันที่ 24 เมษายน  2560 


ความรู้ที่ได้


เพื่อนสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์

หน่วยกลางวัน กลางคืน (วันอังคาร)
คอมเม้นจากอาจารย์
-ชาร์ตเพลงไม่มีสีสัน ตัวหนังสือติดกันเกินไป
-การนั่งเก้าอี้ ควรนั่งเก้าอี้เล็กในการเล่านิทาน
-ถ้าไม่ถามเนื้อหาในเพลงก็ถือว่าเอาแผ่นชาร์ตเพลงมาไร้ประโยชน์
-ควรถามประสบการณ์เดิมของเด็กก่อน




หน่วยยานพาหนะ  (วันอังคาร)
คอมเม้นจากอาจารย์
สังเกตจากภาพต้องดูที่ภาพ ไม่อุปโลกไปที่อื่น เขียนตัวหนังสือให้ดีๆและต้องสวยหัวกลมตัวเหลี่ยม





หน่วยยานพาหนะ   (วันพุธ)
คอมเม้นจากอาจารย์
ต้องชี้จากขวาไปซ้าย ทำแม็ปต้องโยงเส้น เขียนลายมือให้สวย เพลงถ้ามีภาพประกอบด้วยจะดี




หน่วยครอบครัวของฉัน (วันพุธ)

คอมเม้นจากอาจารย์

ต้องสอนเด็กก่อน ที่ทำมาถามแต่ประสบการณ์เดิมยังไม่มีการสอน






หน่วยครอบครัวของฉัน (วันพฤหัสบดี)

คอมเม้นจากอาจารย์
ขั้นนำต้องมีการนำอาจนำด้วย นิทาน เพลง คำคล้องจอง เป็นต้น เริ่มต้นความสัมพันธ์ต้องเริ่มต้นจากสิ่งที่ใกล้เรามาที่สุด คือ ตัวเรา > พี่น้อง>พ่อ>แม่ >ปู่ย่า > ตายาย ......




หน่วยอาหารดีมีประโยชน์
คอมเม้นจากอาจารย์
ไม่ควรสอนคำคล้องจองติดต่อกันหลายวัน สื่อไม่แข็งแรงและไม่ได้มาตรฐาน




การนำไปใช้
สามารถนำความรู้และเทคนิคต่างๆที่ได้จากการสอนและการคอมเม้นต์จากอาจารย์มาปรับใช้กับตนเองและนำไปปรับใช้ในการสอนได้ในอนาคต

ประเมินตนเอง
  ตั้งใจฟังขณะที่อาจารย์กำลังสอน ไม่พูดคุยกันเสียงดัง เตรียมตัว อุปกรณ์ในการมาสอนเป็นอย่างดี ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

ประเมินเพื่อน
เพื่อนเตรียมความพร้อม อุปกรณ์ในการจะมาสอนมาเป็นอย่างดีตั้งใจฟังขณะที่อาจารย์กำลังให้ความรู้เพิ่มเติม มีเพื่อนบางคนมาเรียนสาย

ประเมินอาจารย์
อาจารย์แต่งกายมาสอนเหมาะสม ให้ความรู้เพิ่มเติมสอดแทรกตลอดการสอนทำให้นักศึกษาเข้าใจมากขึ้นและถูกต้อง

ประเมินห้องเรียน
  อุปกรณ์อำนวยความสะดวกครบ  มีโต๊ะเก้าอี้เพียงพอกับจำนวนนักศึกษา บรรยากศเหมาะกับการเรียน

วันเสาร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2560

                                 บันทึกการเรียนครั้งที่ 9
                              ประจำวันที่ 20 เมษายน  2560 (เรียนชดเชย)


ความรู้ที่ได้


เพื่อนสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์

หน่วยอาหารดีมีประโยชน์
คอมเม้นจากอาจารย์
การนั่ง ต้องดูไม่นั่งบังเด็ก
คำพูด: เปลี่ยนจาก รู้ไม่รู้ เป็นทราบไม่ทราบ
ไม่ใช้คำคล้องจองสอนติดต่อกันหลายวันควรนำเพลงมาสอนแทนคำคล้องจอง









หน่วยข้าว
คอมเม้นจากอาจารย์
การเขียนชาร์ทเพลงควรมีรู้ภาพประกอบเพื่อสร้างความสนใจแก่เด็ก
อุปกรณ์ที่ใส่ข้าวควรเป็นถุงใสไม่ใช่กล่องทึกทำเพื่อนให้เด็กได้มองเห็นสังเกตสีขนาดของข้าว





หน่วยผักสดสะอาด
คอมเม้นจากอาจารย์
ต้นผักบุ้งต้องเอารากมาด้วยเพื่อให้เด็กได้สังเกตุส่วนประกอบของผัก
ควรเอาผักที่อยู่ประเภทเดียวกัน






การนำไปใช้
สามารถนำความรู้และเทคนิคต่างๆที่ได้จากการสอนและการคอมเม้นต์จากอาจารย์มาปรับใช้กับตนเองและนำไปปรับใช้ในการสอนได้ในอนาคต

ประเมินตนเอง
  ตั้งใจฟังขณะที่อาจารย์กำลังสอน ไม่พูดคุยกันเสียงดัง เตรียมตัว อุปกรณืในการมาสอนเป้นอย่างดี ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

ประเมินเพื่อน
เพื่อนเตรียมความพร้อม อุปกรณ์ในการจะมาสอนมาเป็นอย่างดีตั้งใจฟังขณะที่อาจารย์กำลังให้ความรู้เพิ่มเติม มีเพื่อนบางคนมาเรียนสาย

ประเมินอาจารย์
อาจารย์แต่งกายมาสอนเหมาะสม ให้ความรู้เพิ่มเติมสอดแทรกตลอดการสอนทำให้นักศึกษาเข้าใจมากขึ้นและถูกต้อง

ประเมินห้องเรียน
  อุปกรณ์อำนวยความสะดวกครบ  มีโต๊ะเก้าอี้เพียงพอกับจำนวนนักศึกษา
                                บันทึกการเรียนครั้งที่ 8
                              ประจำวันที่ 27 มีนาคม 2560



ความรู้ที่ได้


เพื่อนสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์

หน่วยครอบครัวของฉัน
คอมเม้นจากอาจารย์
อย่าร้องเพลงนาน
ให้เด็กพูดตาม > ร้องตาม>พร้อมกัน>วรรคตามจังหวะ





หน่วยยานพานะ
ขยับตัวหนังสือ





หน่วยผักสดสะอาด






การนำไปใช้
สามารถนำความรู้และเทคนิคที่ได้จากการสอนและการคอมเม้นต์จากอาจารย์มาปรับใช้กับตนเองและนำไปปรับใช้ในการสอนได้ในอนาคต

ประเมินตนเอง
 แต่งกายมาเรียนถูกระเบียบ ตั้งใจฟังขณะที่อาจารย์กำลังสอนไม่พูดคุยกันเสียงดัง ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

ประเมินเพื่อน
เพื่อนแต่งกายมาเรียนถูกระเบียบ เตรียมความพร้อม อุปกรณ์ในการจะมาสอนมาเป็นอย่างดีตั้งใจฟังขณะที่อาจารย์กำลังให้ความรู้เพิ่มเติม

ประเมินอาจารย์
อาจารย์มาสอนตรงเวลา แต่งกายมาสอนเหมาะสม ให้ความรู้เพิ่มเติมสอดแทรกตลอดการสอนทำให้นักศึกษาเข้าใจมากขึ้นและถูกต้อง

ประเมินห้องเรียน
  อุปกรณ์อำนวยความสะดวกครบ  อากาศเหมาะสมกับการเรียน มีโต๊ะเก้าอี้เพียงพอกับจำนวนนักศึกษา

วันศุกร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2560

                                 บันทึกการเรียนครั้งที่ 7
                              ประจำวันที่ 13 มีนาคม 2560



ความรู้ที่ได้

อาจารย์ให้ดูนิทาน เรื่อง กับดักหนู


หนูตัวหนึ่งแอบมองลอดรอยแตกของกำแพง
เพื่อดูว่าชาวนากับภรรยาของเขาแกะห่ออะไร
“จะเป็นอาหารอะไรหนอ” เจ้าหนูสงสัย
มันแทบล้มทั้งยืน เมื่อรู้ว่าสิ่งนั้นคือ‘กับดักหนู’
มันจึงวิ่งหัวซุกหัวซุน
ไปที่ทุ่งนา แล้วส่งเสียงร้องเตือน
“มีกับดักหนูอยู่ในบ้าน! มีกับดักหนูอยู่ในบ้าน! ”
แม่ไก่ร้องกุ๊กๆ และคุ้ยเขี่ยไปมา มันผงกหัวขึ้นแล้วพูดว่า
“คุณหนู นี่คงเป็นเรื่องเศร้าสำหรับเธอ แต่มันไม่มีผลอะไรกับฉันหรอกนะ อย่ากวนใจกันเลย”
เจ้าหนูวิ่งไปหาหมูและบอกแก่มัน
“ มีกับดักหนูอยู่ในบ้าน! มีกับดักหนูอยู่ในบ้าน! ”
หมูเห็นอกเห็นใจ แต่ก็พูดว่า
“ ฉันขอโทษนะคุณหนู แต่ฉันคงทำได้แค่สวดมนต์เท่านั้น ไม่ต้องห่วงฉันจะสวดมนต์ให้เธอด้วย”
เจ้าหนูวิ่งไปหาวัว และพูดว่า
“ มีกับดักหนูอยู่ในบ้าน! มีกับดักหนูอยู่ในบ้าน! “
วัวตอบว่า “ โธ่! คุณหนู ฉันก็เสียใจด้วยนะ แต่มันไม่เห็นเกี่ยวอะไรกับฉันนี่ ”
ดังนั้น เจ้าหนูจึงกลับเข้าบ้าน
นอนลงและเศร้าใจเหลือเกิน
ที่จะต้องเผชิญหน้ากับกับดักหนูเพียงลำพัง
กลางดึกคืนนั้น
เสียงๆ หนึ่งดังก้องไปทั้งบ้าน ฟังเหมือนเสียงกับดักหนูได้จับเหยื่อของมันแล้ว
ภรรยาของชาวนารีบรุดไปดูว่าอะไรที่ถูกจับ
ในความมืดนั้นเธอไม่เห็นว่ามีงูพิษถูกกับดักนั้นหนีบหางเอาไว้
งูกัดภรรยาของชาวนา ชาวนาจึงรีบพาเธอไปส่งโรงพยาบาล
ตอนกลับบ้านเธอมีไข้สูง ใครๆ ก็รู้ว่าเราต้องพยาบาลคนป่วยด้วยซุปไก่
ดังนั้นชาวนาจึงหยิบขวานเดินไปที่ทุ่งเพื่อฆ่าไก่มาทำซุป
แต่อาการป่วยของภรรยาก็ยังไม่ดีขึ้น
เพื่อนฝูงและเพื่อนบ้านต่างมาเยี่ยมดูใจ
เพื่อเลี้ยงอาหารพวกเขา ชาวนาจึงฆ่าหมูซะ
ภรรยาของชาวนาก็ยังไม่หาย ในที่สุดเธอก็ตายลง
ผู้คนมากมายต่างมางานศพของเธอ
ชาวนาจึงฆ่าวัวเพื่อให้ได้เนื้อมากพอมาเลี้ยงแขก
เจ้าหนูมองลอดรอยแตกของกำแพงด้วยความเสียใจสุดแสน
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
คราวหน้า หากคุณรู้ว่าใครสักคน กำลังเผชิญปัญหาและคิดว่าไม่เกี่ยวกับคุณสักหน่อย
จำไว้นะว่า เมื่อพวกเราคนใดคนหนึ่งถูกคุกคาม เราทุกคนต่างตกอยู่ในอันตราย!
เพราะทุกคนล้วนเกี่ยวพันกันอยู่ในการเดินทางที่เรียกว่า ‘ชีวิต’
เราต้องคอยเฝ้าดูแลกันและกัน และพยายามให้กำลังใจอีกคนเข้าไว้
ดูโทรทัศน์ครู การสอนแบบ Project Approach โรงเรียนเกษมพิทยา
ครูสาธิตการสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์










การนำไปใช้
สามารถนำข้อคิดจากนิทานมาปรับใช้กับตัวเองเปลี่ยนแปลงมุมมองที่ใหม่และกว้างขึ้นกว่าเดิมนำเทคนิคการสอนเสริมประสบการณ์ที่ได้ไปพัฒนากับตัวเองในการสอนนำข้อเสนอแนะที่ได้จากอาจารย์มาปรับกับตัวเองเพื่อนสอนในครั้งต่อไป

ประเมินตนเอง
  มาเรียนตรงเวลา  แต่งกายมาเรียนถูกระเบียบ ตั้งใจฟังขณะที่อาจารย์กำลังสอนไม่พูดคุยกันเสียงดัง

ประเมินเพื่อน
เพื่อนแต่งกายมาเรียนถูกระเบียบ ตั้งใจฟังขณะที่อาจารย์กำลังสอนให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม

ประเมินอาจารย์
อาจารย์มาสอนตรงเวลา แต่งกายมาสอนเหมาะสม เตรียมความพร้อมมาเป็นอย่างดีในการสอน อธิบาย คอมเม้น เข้าใจง่าย คอยแนะนำ สาธิตการสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ให้ดูเป็นตัวอย่างเพื่อที่จะนำการสอนที่ถูกต้องไปใช้สอน

ประเมินห้องเรียน
 ห้องเรียนกว้างสะอาด อุปกรณ์อำนวยความสะดวกครบ  อากาศเหมาะสมกับการเรียน มีโต๊ะเก้าอี้เพียงพอกับจำนวนนักศึกษา

วันศุกร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2560

                                บันทึกการเรียนครั้งที่ 6
                             ประจำวันที่ 6 มีนาคม 2560


ความรู้ที่ได้

กิจกรรมการสอนเคลื่อนไหวและจังหวะ  (วันพุธ - ศุกร์) 
ตามหน่วยการเรียนรู้
1. หน่วย ยานพาหนะ
2. หน่วย ผักสดสะอาด
3. หน่วย ครอบครัวของฉัน
4. หน่วย สัตว์น่ารัก
5. หน่วย ข้าว



ทำกิจกรรม BBL



สอนกิจกรรมเคลื่อนไหมและจังหวะ หน่วย "ครอบครัวของฉัน"







กิจกรรมการเรียนรู้แบบ BBL

BBL (Brain-based Learning) คือ การจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับพัฒนาการของสมองแต่ละช่วงวัย เป็นการนำองค์ความรู้เรื่องสมองมาใช้เป็นฐานในการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ โดยมีที่มาจากศาสตร์การเรียนรู้ 2 สาขา คือ
- ความรู้ทางประสาทวิทยาสาท
- แนวคิด ทฤษฎีการเรียน

การจัดสภาพสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้แบบ BBL
1. จัดตกแต่งห้องเรียนให้มีสีเขียว เหลือง เป็นส่วนใหญ่
2. ห้องเรียนและบริเวณรอบๆ ห้องเรียนมีต้นไม้ร่มรื่น
3. จัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมกัน กระตุ้นการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
4. จัดให้มีสถานที่ อุปกรณ์ต่างๆ อยู่ในสภาพที่ปลอดภัย
5. จัดให้มีการเรียนรู้จากของจริง ประสบการณ์ตรงโดยผ่านประสาททั้ง 5 (การมองเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การได้ชิม การสัมผัส)



การนำไปใช้
สามารถนำความรู้เทคนิคการสอนที่ได้ไปพัฒนากับตัวเองในการสอนนำข้อเสนอแนะที่ได้จากอาจารย์มาปรับกับตัวเองเพื่อนสอนในครั้งต่อไปเพิ่มความมั่นใจเพิ่มประสิทธิภาพในการสอนและนำไปสอนจริงให้มีคุณภาพในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า

ประเมินตนเอง
  มาเรียนตรงเวลา มีน้ำใจไปช่วยอาจารย์ขนของ แต่งกายมาเรียนถูกระเบียบ เตรียมความพร้อมในการมาสอนเป็นอย่างดี ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นเด็กนักเรียนให้เพื่อนสอน

ประเมินเพื่อน
เพื่อนแต่งกายมาเรียนถูกระเบียบและเหมาะกับการทำกิจกรรม เพื่อนเตรียมตัวและเตรียมอุปกรณ์ในการมาสอนเป็นอย่างดี ตั้งใจสอนและทำกิจกรรมส่วนมากแต่งกายถูกระเบียบและมาเรียนตรงเวลา

ประเมินอาจารย์
อาจารย์มาสอนตรงเวลา  เตรียมความพร้อมมาเป็นอย่างดีในการสอน อธิบาย คอมเม้น เข้าใจง่าย คอยแนะนำเทคนิคเพิ่มเติมในการสอนอยู่ตลอดเวลา

ประเมินห้องเรียน
 ห้องเรียนกว้างสะอาด อุปกรณ์อำนวยความสะดวกครบ  อากาศเหมาะสมเหมาะกับการเรียน

วันอาทิตย์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2560

                           บันทึกการเรียนครั้งที่ 5 (เรียนชดเชย)
                            ประจำวันที่ 4 มีนาคม 2560

ความรู้ที่ได้

สอนเคลื่อนไหวและจังหวะ ผู้นำ-ผู้ตาม (วันอังคาร)


กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ "หน่วยอาหารดีมีประโยชน์"



1. การเคลื่อนไหวแบบไม่เคลื่อนที่ 
คือ การเคลื่อนไหวที่ร่างกายไม่ต้องเคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปยังที่หนึ่ง ได้แก่ การก้มตัว การยืดเหยียดตัว การบิดตัว การหมุนตัว การโยกตัว การแกว่งหรือหมุนเวียน การโอเอน การดัน การสั่น และการตี

2. การเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่
มีพื้นฐานอยู่ 8 อย่าง คือ
การเดิน การวิ่ง การกระโดดเขย่ง การกระโจน กระโดดสลับเท้า การสไลด์ การควบม้า


การนำไปใช้
สามารถนำความรู้เทคนิคการสอนที่ได้ไปพัฒนากับตัวเองในการสอนเพื่อเพิ่มความมั่นใจเพิ่มประสิทธิภาพในการสอนและนำไปสอนจริงให้มีคุณภาพในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า

ประเมินตนเอง
 มีน้ำใจไปช่วยอาจารย์ขนของ มาเรียนตรงเวลา แต่งกายมาเรียนถูกระเบียบให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นเด็กนักเรียนให้เพื่อนสอน

ประเมินเพื่อน
เพื่อนเตรียมตัวและเตรียมอุปกรณ์ในการมาสอนเป็นอย่างดี ตั้งใจสอนและทำกิจกรรมส่วนมากแต่งกายถูกระเบียบและมาเรียนตรงเวลา

ประเมินอาจารย์
อาจารย์แต่งกายมาสอนเหมาะสม เตรียมความพร้อมมาเป็นอย่างดีในการสอน อธิบาย คอมเม้น เข้าใจง่าย คอยแนะนำเทคนิคเพิ่มเติมในการสอนอยู่ตลอดเวลา

ประเมินห้องเรียน
 อุปกรณ์อำนวยความสะดวกครบ ห้องเรียนสะอาด อากาศเหมาะสมเหมาะกับการเรียน